วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ร้านขนมไทยไอเดียเก๋

พอดีเมื่อวานอยู่บ้านเบื่อๆเซ็งๆเปิด ทีวีทิ้งไว้ไม่ได้ตั้งใจดูสักเท่าไรแต่พอสักพักเหมือนหูได้ยินอะไรสักอย่างเกี่ยวกับขนมๆๆไทยๆๆๆป๊าดหันไปมองจ้องที่ทีวีเลย คิดในใจว่ายังไงต้องเป็นรายขการสอนทำขนมแน่ๆนอนๆเลย รีบลุกไปหยิบสมุดโน๊ต ปากกา มาเตรียมจดเลยที่ไหนได้กลับไม่ใช่แต่ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจมากกว่านั้นอีก เป็นไอเดียที่เก๋มากๆ การนำเสนอการขาย ขนมไทยแบบใหม่ แนวใหม่ ชอบมากๆเลยเอามาฝากเพื่อนๆกันเผื่อเพื่อนๆคนไหนสนใจจะได้ไปลองแวะชิมและอุดหนุนกันลองดูตัวอย่างกันนะ(ขอบอกน่ารักอ่ะ)
ประวัติที่มาร้านของเค้าอ่ะเก่งจริงๆ

Chan ขนมหวาน

     
    ร้านชั้นขนมหวาน   เริ่มเปิดให้บริการในปี พศ. 2547 / คศ. 2004 เป็น ร้านขนมไทยใส่ไอเดีย ให้บริการขนมไทย ทั้งแบบดั้งเดิม และ ขนมไทยประยุกต์ รวมถึงขนมหวาน ประเภทเบเกอรี่ มีบริการจัดกระเช้า จาน พาน ตะกร้า ขนมตามเทศกาล ต่าง ๆ    เน้นหีบห่อ และรูปลักษณ์ที่ทันสมัยสวยงาม

ลักษณะการตกแต่งร้านเป็นแบบสมัยใหม่ ( modern ) โดยใช้โทนสีเขียวอ่อน และสีขาว เป็นหลัก ตกแต่งเป็นแถบสีคล้าย barcode เน้นความสบายตา โปร่ง โล่งสบาย เป็นการเปลี่ยนแปลงร้านขนมไทยจากเดิมที่จะตกแต่งร้านแบบไทย ให้เป็นร้านที่มีความทันสมัย สีสันสดใส ติดไฟสว่าง

          ชั้นขนมหวาน กำเนิดมาจาก ผู้มีใจรักขนมไทย และ อยากให้ขนมไทยที่มีเสน่ห์ มีความอร่อย ความสวยงาม อยู่คู่กับคนไทย และเมืองไทย รวมถึงอยากให้ขนมไทยสร้างชื่อ ให้ชาวต่างชาติ ได้ลิ้มลอง โดยได้มีการรวบรวมสูตรจากที่ต่าง ๆ และ ศึกษาค้นคว้าสูตรขนมจากในอดีต สอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อ นำมาปรับให้เข้ากับยุคสมัย โดยไม่ว่าจะเป็นสูตรขนมอะไรก็ตามทางร้านมีปณิธานในการทำขนมว่า จะใช้แต่ของดี มีคุณภาพ สำหรับการผลิตขนม เหมือนเราทำรับประทานเอง เพื่อตัวเราเอง เพื่อคนที่เรารัก เพื่อคนในครอบครัว ดังนั้นวัตถุดิบที่ใช้จึงผ่านการคัดสรรอย่างดี แต่การที่จะใช้สูตรขนมดั้งเดิม แบบโบราณแท้ๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย เริ่มจากปัจจัยสำคัญคือวัตถุดิบ เพราะในปัจจุบันวัตถุดิบบางชนิดไม่สามารถหาได้ อีกทั้งปัจจัยในแง่พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือจากเดิมในการเลือกอาหารจะเน้นที่รสชาติ หรือความอร่อยเป็นหลัก แต่ในปัจจุบัน การเลือกรับประทาน มีส่วนประกอบอื่นเข้ามาเป็นปัจจัยประกอบ ทั้งรูปร่าง หน้าตา รวมถึงความสวยงามของหีบห่อ ( packaging ) ซึ่งไม่แน่ในบางกลุ่ม บางบุคคล หน้าตาอาจเป็นปัจจัยหลักในการเลือกก็เป็นได้ รวมถึงทางร้านยังมีแนวคิดที่อยากให้คนรุ่นใหม่ยอมรับ และเปิดใจให้ขนมไทย ทำให้ขนมจากชั้นขนมหวานมีรูปแบบ และหน้าตาที่เปลี่ยนไปจากเดิม

          รสชาติของขนมจากร้านชั้นขนมหวาน จะมีรสชาติไม่หวานมาก เนื่องด้วยความห่วงใยในสุขภาพ ของผู้บริโภค ทางร้านจึงไม่ทำขนมที่หวานมาก ถึงแม้จะมีชื่อร้านว่า ชั้นขนมหวานก็ตาม รวมถึงที่ร้านยังมีเมนูขนมเพื่อสุขภาพ เป็นเมนูขนมที่ไม่ได้ใช้กะทิเป็นส่วนประกอบ แต่จะใช้กะทิธัญพืชแทน เพราะกะทิที่ได้จากมะพร้าวจะมีปริมาณไขมันอิ่มตัวค่อนข้างสูง ซึ่งจะเป็นตัวก่อให้เกิด การอุดตันของเส้นเลือด และเป็นบ่อเกิดของคอเลสเตอรอลด้วย

          ขนมไทยจากชั้นขนมหวาน มีหลายรูปแบบ หรือถ้าแบ่งอย่างง่าย ๆ ขนมจากชั้นขนมหวาน มีสอง ประเภท คือขนมสด กับ ขนมแห้ง โดยแบ่งแยกจาก อายุของการเก็บ เป็นสำคัญ ขนมสดโดยส่วนมากจะสามารถบริโภคได้แบบวันต่อวัน ( ไม่แนะนำให้เก็บข้ามคืน โดยจะมีการระบุรายละเอียดวันผลิตไว้ที่กล่อง ) ส่วนขนมแห้ง แล้วแต่ประเภทของขนมนั้น ๆ ซึ่งมีระยะเวลาการเก็บ หรือ อายุของสินค้า มีตั้งแต่ระยะเวลาเป็น วัน บางชนิดเก็บได้เป็น สัปดาห์ หรือบางชนิดสามารถเก็บได้เป็นหลักเดือน

ในปัจจุบันขนมสดทุกประเภทจะเสริฟ์ในถ้วยพลาสติกใส ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้ว ขนมทุกตัวผ่านการคัดสรร ดัดแปลงมาบ้างบางส่วน เช่น ข้าวเหนียวหน้านวล หรือข้าวเหนียวตัดที่เราอาจจะคุ้นเคยกับข้าวเหนียวขาวหน้ากะทิ วางตกแต่งด้วยถั่วดำ แต่การทานข้าวเหนียวตัด หรือข้าวเหนียวหน้านวลในสมัยโบราณ นิยมทานกับทองหยอด ทางร้านจึงนำมาประยุกต์ด้วยการวางเม็ดทองหยอดบนหน้าข้าวเหนียว ที่มีกะทิ หยอดหน้าอยู่แล้ว หน้าตาจะออกมาคล้ายไข่ดาว มีสีส้มของทองหยอดอยู่ตรงกลางคล้ายไข่แดง มีสีขาวของกะทิล้อมรอบ เปรียบเหมือนไข่ขาว ทำให้ความอร่อยสามารถมารวมอยู่ในคำเดียว และยังเป็นการเพิ่มความสวยงามอีกด้วย

ขนมแห้งของร้านชั้นขนมหวานก็มีหลากหลายประเภท จะมีทั้งขนมจากอดีตที่สามารถหาได้ยากในปัจจุบัน เช่น ท๊อฟฟี่ไข่เต่า หรือไข่นกกระทา ท็อฟฟี่เยลลี่ ที่มีกระดาษห่อสีสันสวยงาม เปลือกห่อสามารถนำมาละลายน้ำจุ่มเป็นสี ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นบรรยากาศของความอบอุ่นในครอบครัว เพราะหลายครั้งที่ร้านชั้นขนมหวาน จะมีเสียงบอกเล่าจากยาย สู่หลาน หรือ แม่เล่าให้ลูกฟัง ถึงเรื่องราวในอดีต “ว่านี่ทอฟฟี่สี สมัยเด็ก ๆ นะ หลังจาก อร่อยกับขนมในห่อแล้ว ห่อกระดาษยังเอามาละลายน้ำเป็นสีต่าง ๆ ถือเป็นของเล่นสุด ฮิต” บางกลุ่ม เพื่อนก็จะเข้ามาโต้เถียงถึงชื่อของขนมไข่นกกระทา บ้างก็เรียกไข่เต่า บางบ้านเรียกไข่ไดโนเสาร์  บางบ้านก็เป็นไข่จิ้งจก 
โต้เถียงว่าเราเรียกแบบนี้แบบนั้น รวมถึงบ่อยครั้ง เด็กรุ่นใหม่ก็เข้ามาสอบถามถึงขนมไทยโบราณชื่อต่าง ๆ ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร รสชาติเป็นแบบไหน


สูตรของขนมจากชั้นขนมหวานสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ 

1. ขนมไทยสูตรดั้งเดิม ( ขนมไทยสูตรโบราณ ) อย่างที่บอกแต่แรก ว่าอาจจะไม่เหมือนสมัยโบราณ 100 % เนื่องด้วยข้อจำกัดทางด้านวัตถุดิบ แต่ทางร้านก็พยายามคงไว้ให้คล้ายเดิมมากสุด เช่น จ่ามงกุฎ / ทองเอก / เสน่ห์จันทร์

2. ขนมไทยประยุกต์ หมายถึงขนมไทยแบบดั้งเดิม แต่ นำมาเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง ทั้งด้านหน้าตา รูปลักษณ์ รวมถึงส่วนผสมที่ใส่ลงไป เช่น ตะโก้ที่มีการกลับหน้า

3. ขนมคิดใหม่ เป็นขนมประเภท fusion ที่มีการผสมผสานระหว่างความเป็นขนมไทย กับขนมต่างชาติ มีความลงตัวทั้งรสชาติ และหน้าตา เช่น ข้าวเหนียวครีมเผือก / เค้กตะโก้รสต่าง ๆ



เมนูขนมก็ใช่ย่อยหลากหลายมีให้เลือกจุใจ

เมนูขนมสดพอคำ


ขนมชั้นพอคำพุดดิ้งลิ้นจี่ข้าวเหนียวสังขยา
ไข่ในรังพุดดิ้งสัปปะรดข้าวเหนียวเขียวหน้ากระฉีก
โอนีแปะก๊วยพุดดิ้งลำใยข้าวเหนียวหน้าไข่แมงดา
ลูกชุบเชอรี่ตะโก้เผือก (ม่วง)เปียกปูน
ลูกชุบหัวใจตะโก้แห้ว (เขียว)หยกมณี
ลูกชุบดาโงะ (เสียบไม้)ตะโก้ข้าวโพด (เหลือง)ลืมกลืน
วุ้นลูกชุบตะโก้มะพร้าวอ่อน (ชมพู)สอดไส้
วุ้นเงาะตะโก้เม็ดบัว (เหลือง)ขนมต้ม (หลายสี)
วุ้นลำใยตะโก้ลำไย (ตามฤดู)ขนมต้มแดง
วุ้นมะพร้าวอ่อนตะโก้แอปเปิ้ลคู่ทอง (เม็ด+หยอดเสียบไม้)
วุ้นอันดามัน / วุ้นใบเตย / วุ้นหมีข้าวเหนียวแก้วลูกชุบพายบลูเบอรี่กลีบลำดวน
วุ้นนมเย็น / วุ้นกาแฟข้าวเหนียวแก้วกุหลาบจิ๋วทองหยิบ
วุ้น ABC / วุ้นหัวใจข้าวเหนียวหน้านวลทองหยอด
วุ้นน้ำมะตูม / วุ้นส้มข้าวเหนียวหน้าลูกชิดเม็ดขนุน
พุดดิ้งฟรุ๊ตสลัดข้าวเหนียวเปียกลำใยฝอยทอง
พุดดิ้งสตอเบอรี่นมสด (ตามฤดู)ข้าวเหนียวหน้าตะโก้ต่างๆ 
พุดดิ้งมะม่วงสด (ตามฤดู)ข้าวเหนียวหน้าปลาย่าง 
พุดดิ้งส้มข้าวเหนียวหน้ากุ้ง 

เมนูขนมเกี่ยวกับชั้นขนมหวานชุดขนมหวานพอดีคำ ชุดขนมงานสัมมนา

เมนูขนมแห้งพอคำ


จ่ามงกุฎอลัวกุหลาบนมสดมะพร้าวแก้ว
ทองเอกอลัวกุหลาบกะทิ(ชมพู)กลีบลำดวน
ทองเอกกุหลาบสัมปันนี 
เสน่ห์จันทร์เกสรลำเจียก 



เมนูขนมแห้ง


หมี่กรอบกลีบลำดวนกระเจี๊ยบแก้ว
อลัวเม็ดครองแครงมะขามเม็ด
ฝอยทองกรอบกรอบเค็มมะม่วงเส้นเค็ม
ตังเมขนมเบื้องเล็กมะม่วงหยี
ท๊อฟฟี่ไข่นกขนมผิงกระท้อนหยี
กล้วยกวนข้าวต้มมัดมัน / เผือก รังนกฝรั่งหยี
กลีบลำดวนเสียบไม้มันฉาบสมอ
วุ้นกรอบเผือกฉาบลูกหยียักษ์
วุ้นมะตูมข้าวพองงาดำ - งาขาวมะม่วงกวน
ข้าวมอดถั่วกรอบเสวย - ถั่วกรอบแก้วมะม่วงอบแห้ง
ทองม้วน stickทองแผ่นเปลือกส้มโออบแห้ง
โสมนัสกล้วยกวนข้าวต้มมัด - ซองสานชมพู่หยี
กล้วยฉาบมะขามกวนขนมหน้านวล ( เรือ )ชมพู่แก้ว
มะขามสามรสลูกหยีฉาบส้มอบแห้ง
นี่เป็นตัวอย่างคร่าวๆเพื่อนๆคนไหนสนใจก็เข้าไปดูที่
http://www.chankanom.com/chankanom/index.phphttp://www.chankanom.com/chankanom/index.php
ข้อขอบคุณข้อมูล

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554


สมัยนี้คงหากินยากน่าดูลองทำดูๆกันน่ะค่ะเอาวิธีทำมาฝากจ้า
ขนมผิง

ขนมไทย : ขนมผิง
 ส่วนผสม

* แป้งมัน 6 ถ้วยตวง
* น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวง
* หัวกะทิ 1 1/2 ถ้วยตวง
* ไข่ไก่ (เฉพาะไข่แดง) 2 ฟอง
* เทียนอบ
วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน
1. นำกะทิไปตั้งบนไฟอ่อน ใส่น้ำตาลลงไป คนจนน้ำตาลละลายดี
2. จากนั้นจึงใส่แป้งลงไปในกะทิ ใส่ทีละน้อย ใส่แล้วคนต่อเนื่องจนแป้งนุ่ม จึงนำมาปั้นเป็นก้อนกลมๆ หรือปั้นเป็นรูปทรงตามใจชอบ แล้วจึงนำไปวางบนถาดซึ่งทาน้ำมันไว้บางๆ ปั้นทิ้งไว้ 1 คืนจนแห้ง (อย่าวางชิดกันมาก เนื่องจากเวลานำไปอบขนมอาจขยายและติดกันได้)
3. วันรุ่งขึ้นนำแป้งที่ปั้นไว้ไปอบในเตาประมาณ 15 นาที หรืออบจนส่วนล่างเป็นสีน้ำตาลอ่อน จึงเอาออกมาแซะออก และนำไปอบควันเทียน
4. จัดขนมใส่จานเสริฟ หรือใส่โหล, ภาชนะมิดชิดเก็บไว้ทานภายหลัง



ทำยังไม่ค่อยเป็นแต่ลองทำดูไม่ค่อยยากเท่าไรแต่ฝีมือยังไม่เข้าขั้นเห็นชื่อแปลกเลยลองทำดุ
ขนมลืมกลืน







ส่วนผสมขนมลืมกลืน 
- แป้งถั่วเขียว 1 ถ้วยตวง
- น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง
- น้ำลอยดอกมะลิ 5 ถ้วยตวง
- น้ำใบเตยคั้น 1/2 ถ้วยตวง


หน้าขนมขนมลืมกลืน

- กะทิ 3 ถ้วยตวง
- แป้งข้าวเจ้า 1/2 ถ้วยตวง
- เกลือป่น 2 ช้อนชา
- กลิ่นมะลิ 1/4 ช้อนชา

โรยหน้า

- ถั่วทองคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำขนมลืมกลืน
- ละลายแป้งถั่วกับน้ำลอยดอกมะลิ และน้ำใบเตยคั้น ใส่น้ำตาลคนให้เข้ากัน ตั้งไฟกวนจนข้นสุก จะมีลักษณะขาวใส ยกลงหยอดใส่ถ้วยหรือหยอดใส่ใบตองตัดเป็นวงกลมขนาด 1 1/2 นิ้ว


- ผสมส่วนผสมของหน้าขนมให้เข้ากัน ตั้งไฟอ่อน กวนให้สุกข้น ยกลงหยอดทับตัวขนมตรงกลางอย่าให้เต็ม โรยหน้าด้วยถั่วทองคั่ว 2 - 3 เม็ด ต่อหนึ่งอัน

ขนมกง


  

วันนี้ไปเที่ยวมาเห็นขนมแปลกๆเลยเอามาฝากกัน

"ขนมกงเป็นขนมโบราณ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น จากคำให้ การขุนหลวงหาวัดประดู่ทรงธรรม ในเอกสารหอหลวงสมัยอยุธยา “ย่านป่าขนม ชาวบ้านนั้นทำขนมขายและนั่งร้านขายขนมชะมด กงเกวียน ภิมถั่ว สำปนี” ขนมกงเกวียนก็คือขนมกงนั่นเอง รูปร่างก็เป็นล้อเกวียนสมชื่อสำหรับคนไทย
   ขนมกงดูจะแพร่หลายมากเป็นพิเศษในจังหวัดภาคกลาง โดยเพราะอย่างยิ่งแถบจังหวัดอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ฯลฯ เป็นที่รู้กันดีว่าขนมกงเป็น ขนมมงคล ที่นิยมใช้ในพิธีแต่งงานในฐานะขนมขันหมาก นอกจากขนมกงวงเล็ก ที่ทำกินกันตามปกติแล้วยังมีขนมกงขนาดใหญ่ ที่ทำขึ้น ในโอกาสพิเศษอย่างงานแต่ง นอกจากขนาดที่ใหญ่แล้ว บางที่จะประดิษฐ์โดยการเอาตอกมาเสียบสี่มุมของตัวกง รวบปลายตอกแล้วมัดยอดด้วยตอกให้เหมือนทรงกระโจม นำแป้งที่ใช้ชุบตัวกงมาสลัดในกระทะให้เป็นแพฝอย ๆ นำแพแป้งที่ลักษณะเหมือนแหนี้มาคลุมตัวกระโจมดังกล่าว เพิ่มความสวยงามไปอีกแบบ จากนั้นก็จะนำใส่สาแหรกหาบไปในพิธีแห่ขันหมาก ขนมกงจะขาดไม่ได้ในงานหมั้นงานแต่ง จนคนไทยสมัยก่อน ถึงกับ มีสำนวนพูดสัพยอกว่า “เมื่อไรจะได้กินขนมกงเสียที” ซึ่งหมายความว่าเมื่อไรจะแต่งงานนั้นเอง
   ขนมกงเป็นขนมมงคล ด้วยเชื่อว่าจะทำให้คู่บ่าวสาวมีใจคอหนักแน่นและครองรักกันตลอดไปเหมือนกงล้อของเกวียนที่หมุนไปเรื่อย ๆ สมัยก่อน ในงานหมั้นงานแต่งจะใช้ขนมกงควบคู่กับขนมสามเกลอ แต่ปัจจุบันขนมสามเกลอเสื่อมความนิยมไปมากแล้ว คงเหลือแต่ขนมกงที่คนไทยภาคกลางยังนิยมใช้เป็นขนมแต่งงานกันแพร่หลาย ดังนั้นแถวอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี จึงมีแม่ค้าทำขนมกงขายตามสั่ง ซึ่งจะมีมากในเดือนที่นิยมพิธีแต่งงาน อย่างไรก็ตามทุกวันนี้จะหาศิลปินนักทำขนมกงอร่อย ๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ"

แถมท้ายด้วยวิธีทำขนมกง
เครื่องปรุง

ถั่วเขียวโม่ละเอียด 2 ถ้วย
น้ำตาลปีบ 1/2 ถ้วย
น้ำตาลทราย 1/4 ถ้วย
มะพร้าว 1 1/4 กิโลกรัม คั้นข้นๆ 1 ถ้วย

ส่วนผสมของแป้งชุบขนม

แป้งข้าวเจ้าอย่างดี 1/2 ถ้วย
แป้งท้าวยายม่อม 1 ช้อนโต๊ะ
ไข่ไก่ 1 ฟอง
หัวกะทิ 1/2 ถ้วย
น้ำปูนใส 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

1.ล้างถั่วแล้วคั่วให้หอม และให้แตก ฝัดเปลือกออกให้หมด โม่ทีละน้อยให้ละเอียด พักไว้
2.ละลายน้ำตาลปีบกับหัวกะทิ ตั้งไฟเคี่ยวไฟพอเป็นยางมะตูมอ่อนๆ ยกลงคนกับน้ำตาลทรายจนเย็น จึงผสมกับแป้งถั่วนวดให้เข้ากัน จนปั้นได้
3.ปั้นกลมๆ ขนาดเท่าเม็ดพุทรา แล้วคลึงบนกระดานให้ยาว 3 1/2 นิ้ว ทำเป้นวงกลมเหมือนวงแหวน แล้วเอาแป้งน้อยกว่าเล็กน้อย คลึงให้เป็นเส้นเล็กกว่า วางพาดกลางเป็นรูปกากบาท แล้วปั้นแป้งเม็ดกลมเล็กๆ อีก 5 อัน วางที่มุมตัดกัน 4 มุม และตรงกลางอีก 1 เม็ด เรียงลงตะแกรงผึ่งไว้
วิธีผสมแป้งชุบ
1.นวดแป้งข้าวเจ้ากับแป้งท้าวยายม่อม ไข่และน้ำปูนใส แล้วละลายด้วยหัวกะทิทีละน้อยๆ จนแป้งละลายไม่เป็นเม็ด จะกรองอีกครั้งหนึ่งก็ดี
2.ตั้งกะทะ ใช้น้ำมันมากๆ ไฟกลาง พอน้ำมันร้อนหยิบขนมที่ปั้นไว้ลงชุบแป้งทีละอัน ใส่ในกะทะอย่าให้
มากนัก พอเหลืองตักขึ้นชับน้ำมันบนกระดาษฟาง พอเย็นเก็บใส่ขวดโหลไว้รับประทาน
 

ขนมเทียนสลัดงาไส้มะพร้าวงาดำ



ขนมเทียน เป็นขนมไทยพื้นบ้าน ที่เกิดจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่เอาพืชพื้นบ้าน แป้ง น้ำตาล มะพร้าว มาเป็นส่วนผสม โดยนวดแป้งกับกะทิให้แป้งนุ่มใส่น้ำตาลนำแป้งไปนึ่งนำวัสดุธรรมชาติประเภทใบตองอ่อนมาห่อหุ้มอาหารให้เกิดความสะดวกในการพกพาและเพิ่มกลิ่นหอมและยังช่วยมลภาวะที่เป็นพิษจากการใช้วัสดุสังเคราะห์
ขนมเทียน เป็นขนมที่คนไทยเชื้อสายจีน ใช้เป็นขนม ประกอบพิธีการไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไหว้ บรรพบุรุษ ซึ่งแสดงถึงความรุ่งเรือง ความรุ่งโรจน์ ความสว่างไสว ความเจริญก้าวหน้าของชีวิต

ขนมเทียนสลัดงาไส้มะพร้าวงาดำ เป็นขนมเทียนที่ประยุกต์พัฒนามาจากขนมเทียนพื้นบ้านเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค ในปัจจุบันที่มีความรัก ห่วงใยในสุขภาพ ส่วนผสมงาดำที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย นำมาบดกวนเพิ่มในไส้ขนมให้มีคุณค่าต่อร่างกาย ขนมจะมีความหอมทั้งไส้และแป้งหุ้มไส้ที่คลุกด้วยงา
 แป้งใช้แป้งข้าวเหนียวเป็นหลัก
 มะพร้าวแก่คั้นเป็นหัวกะทิ นำมานวดกับแป้ง ช่วยให้แป้งนุ่ม
 น้ำตาลน้ำตาลที่ใช้ในการทำขนมเทียนสลัดงาไส้มะพร้าวงาดำ
 การแต่งสี
ใช้น้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนดทั้งตัวไส้และตัวแป้งช่วยให้ไส้และแป้งมีความหอมและกลิ่นหอม
งา ใช้ในการทำไส้ และคลุกกับตัวขนมเทียนสลัดงา ไส้มะพร้าวและงาดำโดยนำไปคั่วบดผสมในไส้
   
  
คุณค่าทางอาหาร
 1. คาร์โบไฮเดรต จาก แป้งและน้ำตาล
2. ไขมัน จาก กะทิ
3. เกลือแร่และวิตามิน จาก งาขาว งาดำ
 
เทคนิคการทำขนมเทียนสลัดงา
 1.งาดำควรเลือกหาสิ่งเจอปน กรวด ทราย ล้างทำความสะอาด แช่น้ำก่อนนำมาคั่ว
 2.ลักษณะที่ดีของขนมเทียนสลัดงาไส้งาดำ เนื้อแป้งเหนียว ไส้เหนียว หอม หวานน้อย งากรอบ
+ ขนมเทียนสลัดงาไส้มะพร้าวงาดำ+
วัสดุ อุปกรณ์
อุปกรณ์ในการตวง
- ถ้วยตวงของแห้ง / ของเหลว
- ช้อนตวง
อุปกรณ์ในการทำ
- ลังถึง - มือแมว
- กะทะทอง - คันชัก
- อ่างผสม - ผ้าขาวบาง
- ไม้พาย
ส่วนผสม
- มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย 200 กรัม
- น้ำตาลปี๊บ 200 กรัม
- น้ำลอยดอกมะลิ1/2 ถ้วย
ลำดับขั้นการปฏิบัติ

การทำไส้ขนมเทียนสลัดงา
1.นำมะพร้าวทึนทึกที่ขูดฝอยเรียบร้อยแล้ว ใส่ในกะทะทอง ผสมน้ำตาลปี๊บ น้ำ กวนจนส่วนผสมแห้ง
2.นำตัวไส้ขนมมาปั้นลูกกลมๆ ขนาดพอเหมาะ นำใส่ถาดผึ่งลมไว้และนำไปอบด้วยเทียนเพื่อเพิ่มการหอม

งาขาวคั่ว
1. งาขาว 250 กรัม

การทำงาขาวคั่ว
1. ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่งาขาวลงในกระทะ คั่วด้วยไฟอ่อน จนงาขาวมีกลิ่นหอม

ตัว แป้งขนมเทียน
1. แป้งข้าวเหนียวสด 250 กรัม
2. หัวกะทิ 1/2 ถ้วย
3. น้ำตาลทราย 80 กรัม
4. น้ำตาลปี๊ป 120 กรัม

การทำตัวแป้งขนมเทียน
1. นวดแป้งข้าวเหนียวสดกับน้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊ปให้เข้ากัน
2. ใส่กะทิลงในส่วนผสมข้อ 1 ผสมให้เข้ากัน
3. นำส่วนผสมเทลงในถาดที่ทาน้ำมัน นำไปนึ่งให้สุก ปล่อยให้เย็นตัดส่วนผสมเป็นชิ้น นำมาหุ้มใส่ คลุกกับงาขาวคั่ว
ข้อเสนอแนะ
หากใช้แป้งข้าวเจ้าแห้ง ให้นำแป้ง 250 กรัม นวดกับน้ำประมาณ 1 ถ้วยให้เป็นก้อนแป้งพักไว้ให้

ฝอยทอง

วันนี้เอาขนมไทยๆมาฝาก
วิธีทำขนมฝอยทอง

สูตรขนมฝอยทอง
สูตรขนมฝอยทองแบบละเอียด
“ฝอยทอง” เป็นหนึ่งในขนมตระกูลทอง เปรียบเสมือนเส้นด้ายที่ยาวไม่รู้จบ ใครได้รับฝอยทองเหมือนจะเปรียบเปรยว่าทำให้มีชีวิตยืนยาว คือการมีสุขภาพดีนั่นเอง
อุปกรณ์จำเป็น
1.กระทะทองเหลืองและไม้พาย สำหรับเคี่ยวน้ำเชื่อมและคนให้น้ำตาลละลาย
2.ผ้าขาวบาง สำหรับกรองไข่
3.ไม้ปลายแหลม สำหรับสอย “ฝอยทอง”
4.ใบตอง สำหรับทำกรวย แต่ถ้ามีกรวยสำหรับทำฝอยทองแล้วก็ไม่ต้องใช้คะ
การทำ “ฝอยทอง” นั้น มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ น้ำเชื่อมและไข่
ส่วนน้ำเชื่อม
1.น้ำตาลทราย 1,000 กรัม
2.น้ำลอยดอกมะลิ 1,000 กรัม (กรณีไม่มีน้ำลอยดอกมะลิใช้น้ำเปล่าแทนค่ะ)
เอาน้ำตาลทรายและน้ำเปล่าใส่กระทะทองเหลือง ใช้ไม้พายคนนิดหน่อยพอให้น้ำตาลละลาย ยกขึ้นตั้งไฟแรงให้น้ำตาลทรายละลายให้หมดตั้งไฟแล้วไม่ต้องคนมากค่ะ ไม่เช่นนั้นแล้วจะตกทรายภายหลัง
3.เมื่อน้ำตาลทรายละลายหมดแล้วให้ลดไฟลงเป็นไฟกลางไปทางอ่อนแทน ความเข้มข้นของน้ำเชื่อมในการทำ “ฝอยทอง” นั้น น้ำเชื่อมต้องเข้มข้นมากกว่าการทำ “เม็ดขนุน” แต่ต้องเข้มข้นน้อยกว่าการทำ “ทองหยอด” และ “ทองหยิบ” ใช้เวลาเคี่ยวน้ำเชื่อมประมาณ 20 นาทีได้คะ นับจากน้ำตาลลทรายละลายหมดแล้วนะ กะเวลาเอาคะ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับประสบการณ์นะ ต้องลองโรยไข่ดูคะ
4.ระหว่างนั้นมาทำอย่างอื่นก่อนคะ ใบตองสำหรับทำกรวย ฉีกให้มีความกว้างประมาณ 6-7 นิ้ว เช็ดให้สะอาด จากนั้นพับครึ่งแบบนี้ แล้วม้วนให้เป็นกรวยลักษณะนี้ ถ้ามีไม้กลัดเอาไม้กลัดติด ถ้าไม่มีก็ใช้แม็กเย็บกระดาษก็ได้คะ ให้ปลายกรวยมีรูเล็ก ๆ เหลือไว้ให้เป็นทางไข่ออกมาด้วยนะคะ จะทำเผื่อไว้อีกอันก็ดีคะ ใบตองอีกส่วนก็ปูใส่ถาดไว้ สำหรับรองรับ “ฝอยทอง” ที่สอยขึ้นมาจากกระทะทองเหลือง
สูตรขนมฝอยทอง
ส่วนผสมของไข่
1.ไข่แดงของไข่เป็ด 150 กรัม (ประมาณ 7 ฟอง)
2.ไข่แดงของไข่ไก่ 140 กรัม (ประมาณ 7 ฟอง)
3.ไข่น้ำค้าง 20 กรัม
4.น้ำมันพืช 5 กรัม
ถ้าใช้ไข่แดงของไข่เป็ดอย่างเดียว ฝอยทองจะแข็งกระด้างไป
ถ้าใช้ไข่แดงของไข่ไก่อย่างเดียว ฝอยทองจะเละไปและสีไม่สวย
ไข่น้ำค้าง ตามสูตรใช้ 20 กรัม ซึ่งต้องได้จากไข่ประมาณ 40-50 ฟอง
วิธีทำแบบละเอียดเลยนะคะ
1.แยกไข่แดงออกจากไข่ขาวกันก่อนนะคะ ตอกไข่ใส่ถ้วยใบเล็ก ๆ แล้วก็มาเทใส่มือ ถ้าไข่ใหม่และสด ไข่แดงจะนูน ๆ และไข่ขาวยังเป็นก้อน ๆ ติดกับไข่แดง ใช้นิ้วหัวแม่โป้งค่อย ๆ รูดไข่ขาวออกไปคะ ให้เหลือแต่ไข่แดงใส่ภาชนะไว้คะ เปลือกไข่อย่าเพิ่งทิ้งคะ เก็บไว้ เพราะเราต้องเอาไข่น้ำค้างจากเปลือกไข่ ไข่น้ำค้างคือส่วนของไข่ขาวที่ค้างอยู่บนเปลือกไข่ ซึ่งจะทำให้เส้น “ฝอยทอง” นุ่มเหนียว และเวลาโรย “ฝอยทอง” แล้วทำให้เส้นเรียบสม่ำเสมอ แยกไข่เสร็จแล้วก็มารูดเอาไข่น้ำค้างออกจากเปลือกไข่นะคะ ไข่ 14 ฟองได้ไข่น้ำค้างนิดเดียวเองคะ ชั่งดูยังไม่ถึง 10 กรัมเลย
2.เอาไข่แดงของไข่เป็ดเทใส่ภาชนะ ตามด้วยไข่แดงของไข่ไก่ ตามด้วยไข่น้ำค้าง ใช้ช้อนคนให้เข้ากันค่ะ จากนั้นเอาน้ำมันพืชใส่ลงไปคะ ใส่ 1 ช้อนซุปนะค่ะ ใส่ไปทำไม น้ำมันพืชช่วยให้เส้น “ฝอยทอง” เงาและนุ่มขึ้นค่ะ แล้วก็คนให้เข้ากันค่ะ
3.เราต้องมากรองไข่กันก่อน ก็เอาผ้าขาวบางมารองบนภาชนะคะ เอาส่วนผสมของไข่เทลงไป รวบชายผ้าแล้วก็เอามือรูดส่วนผสมไข่ให้กรองผ่านผ้าขาวบางออกไปคะ เมื่อกรองไข่แล้วลองตักมาสักช้อนแล้วโรยไข่ลงมา ถ้าไข่ไหลสะดวกต่อเนื่องกันมาเรื่อย ๆ แสดงว่าใช้ได้คะ ถ้าไหลขาด ๆ หยุด ๆ กรองใหม่อีกครั้งคะ
4.มาทดสอบกรวยกันก่อนว่าใช้ได้ไหม เอานิ้วปิดรูกรวยไว้ก่อนตักส่วนผสมของไข่ใส่ไปใบกรวยคะ แล้วลองยกกรวยดู เปิดรูกรวย ไข่ไหลผ่านสะดวกไหม ถ้าแบบนี้ไม่สะดวก เป็นหยด ๆ ให้แก้โดยการเอาไม้ปลายแหลมทิ่มจากด้านในกรวยให้รูกรวยกว้างขึ้น ให้ไข่ไหลสะดวกนะคะ
5.หันไปดูน้ำเชื่อม น้ำเชื่อมต้องเดือดฟองค่อนข้างละเอียดนะคะ การทำ “ฝอยทอง” น้ำเชื่อมต้องเดือดพล่าน แต่ไฟต้องไม่แรงมากค่ะ
6.เอาไข่ใส่กรวยแล้วเอานิ้วปิดรูกรวยไว้ก่อน พอถึงตรงน้ำเชื่อมก็เปิดรูกรวยให้ไข่ไหลลงไปคะ เวลาโรยให้โรยรอบ ๆ กระทะทองเหลืองเลยคะ ถ้าได้สักเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 นิ้วขึ้นไปจะดีนะ รอบจะได้กว้าง โรยไข่ไปเรื่อย ๆ แต่อย่าให้เส้นทับกัน นับด้วยว่าโรยครั้งละกี่รอบ ทำให้เท่า ๆ กันทุกครั้ง จะได้แพขนาดเท่ากันคะ
สูตรขนมฝอยทอง
7.สักพักก็เอาไม้ปลายแหลมเขี่ยให้เส้น “ฝอยทอง” มาอยู่ด้านเดียวกัน ใช้ไม้ปลายแหลมกดเส้นฝอยทองให้จมน้ำเชื่อม เพื่อให้ไข่สุก จะได้ไม่คาวคะ
8.แล้วก็เอาไม้ปลายแหลมสอยฝอยทองให้เป็นแพ แล้วส่ายไปส่ายมาในน้ำเชื่อมเพื่อช่วยให้เส้นตรงขึ้น ตรงนี้นึกภาพตามคะ แล้วก็ทิ้งให้น้ำเชื่อมหยดสักพัก แล้วก็เอาไปวางบนถาดที่ปูใบตองไว้คะ แล้วก็ทำซ้ำเหมือนเดิมใหม่ ข้อแนะนำคือ น้ำเชื่อมมันจะเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ฝอยทองตกทรายได้ ให้เติมน้ำสะอาดลงไปครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ก่อนที่จะโรยไข่ลงไปใหม่ วิธีการดูน้ำเชื่อมว่าเข้มขึ้นคือ ยิ่งเข้มข้นมาก ฟองเดือดจะยิ่งเล็กมากขึ้นคะ ให้ดูฟองน้ำเชื่อมเอานะคะ
ไข่แดง 1 ฟอง ได้ “ฝอยทอง” แพเล็ก ๆ อย่างนี้ 1 แพคะ ไม่ต้องแปลกใจทำไม “ฝอยทอง” แพงจังนะคะ
เยอะนะค่ะ แต่เพื่อนๆน่าจะทำได้ ไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลย แค่ต้องละเอียดเท่านั้นเอง